ยกสยาม เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ ซึ่งเน้นส่งเสริมให้คนในแต่ละจังหวัดรักบ้านเกิด รวมทั้งใช้ความรู้ความสามารถที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดเพื่อตอบคำถาม หลังจากที่ประสบความสำเร็จใน ยกสยามปี 1 ทำให้มีการจัดการแข่งต่อในปีที่สอง ออกอากาศตั้งแต่ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 18.27 - 18.52 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 ทาง โมเดิร์นไนน์ ทีวี ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย ปัญญา นิรันดร์กุล
นอกจากนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ยังได้พระราชทานแผ่นประกาศนียบัตรจารึกพระนามาภิไธยย่อ "มวก." เพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดผู้ชนะในรายการยกสยาม
จะแข่งกันเป็นภาคทั้งหมด 5 ภาค ซึ่งแชมป์แต่ละภาคนั้นนอกจากจะได้รับเงินรางวัลไปก่อน 1 ล้านบาทและถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรี แล้วในรอบชิงชนะเลิศ แชมป์และรองแชมป์ของทั้ง 5 ภาคจะเข้ามาชิงชัยกันเพื่อครองสิ่งอันเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตกับ แผ่นเกียรติยศพระราชทานฯ จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมเงินรางวัล 1 ล้านบาท เพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดผู้ชนะในรายการยกสยาม
การยกป้ายคำตอบในเกมจะแตกต่างจากยกสยามในปีแรก โดยหลังจากพิธีกรอ่านคำถามจบ จะมีเวลาในการปรึกษาภายในทีม 1 นาที จากนั้นการยกป้ายคำตอบจะให้หัวหน้าทีมและลูกทีมยกป้ายคำตอบพร้อมกัน (เหมือนกับ ยกที่ 3 ในรอบชิงชนะเลิศ ยกสยามปีที่ 1)
ในภาคตะวันออกมีทั้งหมด 7 จังหวัด โดยจะมี 1 จังหวัดที่จะได้ไปในรอบต่อไปทันที ไม่ต้องแข่งขันในรอบแรก
ในรอบที่ 2 ของภาคตะวันออก จะเป็นการแข่งขันแบบพบกันหมด ระบบการเล่นคือทำได้ 5 ข้อก่อนจะได้ 1 คะแนน โดยทีมที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะตกรอบ
ระบบการแข่งขันเป็นแบบนับจำนวนข้อที่ถูก ทีมใดที่จำนวนข้อที่ถูกน้อยกว่า จะต้องหาตัวแทนลงจากเวที 1 คน ทีมใดมีสมาชิกหมดก่อนเป็นผู้แพ้
ในภาคใต้มีทั้งหมด 14 จังหวัด โดยในรอบแรกจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 8 จังหวัด (4คู่) และกลุ่มที่ 2 มี 6 จังหวัด (3คู่)
ในรอบที่ 2 มีทีมผ่านเข้ารอบ 7 จังหวัด โดยจะมี 1 จังหวัดที่จะได้ไปในรอบรองชนะเลิศ ทันที ไม่ต้องแข่งขันในรอบที่ 2
ระบบการแข่งขันเป็นแบบนับจำนวนข้อที่ถูก ทีมใดที่จำนวนข้อที่ถูกน้อยกว่า จะต้องหาตัวแทนลงจากเวที 1 คน ทีมใดมีสมาชิกหมดก่อนเป็นผู้แพ้
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีทั้งหมด 19 จังหวัด โดยในรอบแรกจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 10 จังหวัด (5คู่) และกลุ่มที่ 2 มี 8 จังหวัด (4คู่) โดยจะมี 1 จังหวัดที่จะได้ไปในรอบที่ 2 ทันที ไม่ต้องแข่งขันในรอบแรก
ระบบการแข่งขันเป็นแบบนับจำนวนข้อที่ถูก ทีมใดที่จำนวนข้อที่ถูกน้อยกว่า จะต้องหาตัวแทนลงจากเวที 1 คน ทีมใดมีสมาชิกหมดก่อนเป็นผู้แพ้
ในภาคกลางมีทั้งหมด 20 จังหวัด โดยในรอบแรกจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 10 จังหวัด (5คู่) และกลุ่มที่ 2 มี 10 จังหวัด (5คู่)
ในรอบรองชนะเลิศ ภาคกลาง จะเป็นการแข่งขันแบบพบกันหมด ระบบการเล่นคือทำได้ 3 ข้อก่อนจะได้ 1 คะแนน โดยทีมที่มีคะแนน 2 อันดับสูงสุดเข้ารอบต่อไป
ระบบการแข่งขันเป็นแบบนับจำนวนข้อที่ถูก ทีมใดที่จำนวนข้อที่ถูกน้อยกว่า จะต้องหาตัวแทนลงจากเวที 1 คน ทีมใดมีสมาชิกหมดก่อนเป็นผู้แพ้
ในรอบรองชนะเลิศ จะเป็นการแข่งขันแบบพบกันหมด ระบบการเล่นคือทำได้ 4 ใน 7 ข้อก่อนจะได้ 1 คะแนน โดยทีมที่มีคะแนน 2 อันดับสูงสุดเข้ารอบต่อไป
ทั้ง 2 จังหวัดต้องตอบคำถามในระบบข้อเดียวตัดสินถ้าหากทั้ง 2 จังหวัดเทเหมือนกันแล้วถูก หรือ ผิด อยู่ต่อ ถ้าเทไม่เหมือนกันทั้ง 2 จังหวัดมี 1 จังหวัดจะได้เข้ารอบชิงชนะเลิศเป็นคู่ชิงกับ นนทบุรี
แข่งขันแบบให้ยกผิดออก ทีมใดสมาชิกในทีมหมดก่อนแพ้ โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 3 ยก ยกที่ 1 และ 2 มีคะแนนยกละ 1 คะแนน ส่วนในยกที่ 3 มีคะแนน 2 คะแนน
ให้หัวหน้าทีมยกเพียงคนเดียว ถ้าข้อใดมีคำตอบไม่เหมือนกัน จะยุติเกม และทีมที่ตอบถูกจะได้เป็นแชมป์ยกสยาม
เป็นการแข่งขันนัดพิเศษ ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างทีมจังหวัดนนทบุรี และทีมรวมดารา ซึ่งนั่นก็คือหัวหน้าจากทีมจังหวัดต่างๆรวม 10 คน โดยทีมที่ชนะ จะได้รับโล่เกียรติยศจากทางรายการ
ระบบการแข่งขันเป็นแบบนับจำนวนข้อที่ถูก ทีมใดที่จำนวนข้อที่ถูกน้อยกว่า จะต้องหาตัวแทนลงจากเวที 1 คน ถ้าตอบแบบเททั้ง 2 ทีม แล้วถูก ทั้ง 2 ทีมจะต้องหาตัวแทนลงจากเวที 1 คน แล้วทีมใดมีสมาชิกหมดก่อนเป็นผู้แพ้ โดยแบ่งการแข่งขันเป็น 2 ยก ยกที่ 1 มีคะแนน 1 คะแนน ส่วนในยกที่ 2 มีคะแนน 2 คะแนน